ถอดบทเรียนแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

ถอดบทเรียนแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
แนวปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับบริบทของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี
ในการจัดการเรียนการสอนแบบ SBL PBL และ E-learning

สถานการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ SBL ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี
รายวิชาที่มีการนำการเรียนการสอนแบบ SBL ไปใช้
– วิชาการประเมินสุขภาพ
ลักษณะการนำการเรียนการสอนแบบ SBL ไปใช้
– Case study แบบกระดาษ
– ทักษะการตรวจ 1-3 สถานี
– ประเมินผลโดยใช้หุ่นชนิด High fidelity และได้วางแผนปฏิบัติต่อเนื่องในปีการศึกษา 2560 โดย ใช้ standardized patient
ข้อสังเกต การนำการเรียนการสอนแบบ SBL ไปใช้ สามารถนำไปใช้ได้แต่ต้องคำนึงถึงระดับการใช้ เช่น การเรียนการสอนอาจใช้ case study (paper base) ทักษะการตรวจ 1-3 สถานี หรือหุ่นชนิด High fidelity และการประเมินผลอาจใช้หุ่นชนิด High fidelity ก็ได้
อุปสรรคและการแก้ไขปัญหา
อุปสรรค การแก้ไขปัญหา
1. นักศึกษายังไม่มีความรับผิดชอบในการศึกษาด้วยตนเอง – ครูกระตุ้นให้นักศึกษาด้วยตนเอง
2. เวลาไม่พอ นักศึกษากลุ่มใหญ่ debrief น้อย – ขอเวลานอกเพื่อ debrief
3. ทีมผู้สอนไม่เพียงพอ – ขออาสาสมัคร
– ประชุมผู้สอนล่วงหน้า
การแก้ไขของ วพบ.สุพรรณ – ทีมช่วยจากผู้สอนด้วยกัน ใช้บริษัทช่วยในครั้งแรกๆ และจัดให้มี Lab boy ที่มีความสามารถทาง IT
4. ผู้สอนเครียดจากหุ่น และ สภาพแวดล้อม นำลงNet ไม่ Connect -สร้างแกนนำผู้สอน SBL
– สร้างแกนนำ
– เตรียมพร้อม
– เรียกบริษัท
– เพิ่มความเร็วของอินเตอร์เนท

แนวปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับบริบทของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี ในการจัดการเรียนการสอนแบบ SBL
1. สร้างแกนนำผู้สอน SBL ในแต่ละภาควิชา โดยการระบุตัวบุคคล และ Inspiration ผู้สอน
2. เตรียมสถานการณ์ให้พร้อม และให้บริษัทช่วยเรื่องเทคนิค และลงโปรแกรม
3. เพิ่มพูนความรู้ SBL ในการอาจารย์ และส่งเสริมให้อาจารย์ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์
4. เลือกใช้ตามระดับ low /High และวัตถุประสงค์
– เรียนทฤษฎี
– เรียนทดลอง
– เรียนในภาคปฏิบัติ นักศึกษากลุ่มเล็ก ในกรณีทักษะสำคัญที่พบได้น้อย หรือทักษะที่พบได้บ่อย
– สอบลงกอง
5. ให้ความสำคัญกับการ Debrief
– จัดให้มี mentor ซึ่งอาจเป็นครูที่มีประสบการณ์ในการสอน SBL /เชี่ยวชาญในสาขาวิชา
– เน้นการ Reflection
– การใช้คำถามของครูที่กระตุ้นการคิดของนักศึกษา
6. มีนักวิชาการคอมพิวเตอร์ IT technical (lab boy) ช่วย set ระบบ และอุปกรณ์ โดยในช่วงแรกขอให้ ITของวิทยาลัย (คุณวิสุทธ์) มาเรียนรู้ และเป็นผู้ช่วยสอนร่วมกับอาจารย์ประจำโดยให้เป็นงานพิเศษและพิจารณาให้ค่าตอบแทนในฐานะผู้ช่วยสอน ชม.ละ 400 บาท
7. ผู้สอน – เตรียมความพร้อมก่อนสอน และ ช่วยกันในทีมสอน

สถานการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี
รายวิชาที่มีการนำการเรียนการสอนแบบ PBL ไปใช้
– วิชาจริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพการพยาบาล
– วิชาการพยาบาลบุคคลทีมีปัญหาสุขภาพ 3
อุปสรรค
– ใบประเมิน+ประเมินรายบุคคล
– กลุ่มย่อย
– การสืบค้นข้อมูลของนักศึกษาได้ข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ
– แบบประเมิน ประเมินได้หลายคน (รายบุคคล)
– แบ่งการประเมินบางอย่างใช้กลุ่มช่วยประเมิน

แนวปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับบริบทของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี ในการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL
1. สร้างแกนนำผู้สอน PBL ในแต่ละภาควิชา โดยการระบุตัวบุคคล และ Inspiration ผู้สอน
2. เตรียมสถานการณ์ให้พร้อม
3. เพิ่มพูนความรู้ PBL ในอาจารย์ และส่งเสริมให้อาจารย์ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์
4. ทบทวน PBL สมัยใหม่ให้กับอาจารย์ เช่น
– การเปิดกลุ่ม สามารถเปิดรวมกันได้ เพื่อลดจำนวนครู
– ใช้ IT เช่น Online
– สรุปความรู้ไม่จำเป็นต้องสรุปเป็นตารางเท่านั้น อาจทำเป็น Mind mapping
– วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ต้องได้ตามกำหนด แต่สามารถเกินได้
– แนะนำนักศึกษาเรื่องการเรียนการสอน PBL จาก YouTube ก่อนสอน PBL
5. เตรียมนักศึกษา
– แนะนำวิธีการเรียน PBL ใน YouTube
– แนะนำแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย และ ประสานงานกับห้องสมุด
– ประเมินผล – ชี้แจงการประเมินผลในกรณีที่ช่วยกันต้องใช้ Evidence
– การรู้เท่าทันสื่อ – ข้อมูลที่ค้นมาได้ต้องน่าเชื่อถือ วิธีการดูweb แนะนำตำราใหม่ พูดคุย
– การใช้ฐานข้อมูลของวิทยาลัย
6. สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
– สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ – แหล่งการเรียน ห้องสมุดเปิดตลอด
– Whiteboard + ปากกา
– ห้องเรียนที่ไม่เป็นลักษณะ Stage และอนุญาตให้นักศึกษาใส่ชุดวอร์มมาเรียนได้

สถานการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ E-learning ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี
รายวิชาที่มีการนำการเรียนการสอนแบบ E-learning ไปใช้
– วิชาพยาธิสรีรวิทยา โดยใช้เป็นสื่อการสอนเท่านั้น
– วิชาการประเมินสุขภาพ โดยให้นักศึกษาถ่าย VDO การตรวจร่างกายมาส่ง และพูดคุยกัน/discussion
อุปสรรค
– นักศึกษาไม่มีความสุข นักศึกษาเปิดไฟล์สื่อการสอนไม่ได้ในบริเวณหอพัก แก้ไขโดยวิทยาลัยเพิ่มความเร็ว
– นักศึกษาสืบค้นยังไม่ดีพอ แก้ไขโดยผู้สอนเลือกเนื้อหาและส่งให้นักศึกษาไม่มีความสุข
แนวปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับบริบทของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี ในการจัดการเรียนการสอนแบบ E-learning
1. สร้างแกนนำผู้สอน E-learning ในแต่ละภาควิชา โดยการระบุตัวบุคคล และ Inspiration ผู้สอน
2. เตรียมข้อมูลสื่อการสอนให้พร้อม และให้บริษัทช่วยเรื่องเทคนิค และโปรแกรม
3. เพิ่มพูนความรู้ E-learning ในอาจารย์ และส่งเสริมให้อาจารย์ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์
4. เตรียมแหล่งการเรียนรู้
– เพิ่มความเร็ว Wi-Fi ที่หอพัก (Wi-Fi วิทยาลัย 300 เมก)
– แนะนำการใช้ Internet อย่างรู้เท่าทัน
– ครูคัดสรรเนื้อหาที่เฉพาะให้นักศึกษาทำเป็นสื่อการเรียน รูป PowerPoint
– จัดเตรียมห้องสำหรับ E-learning รวมภายในหอพัก และตั้งกติกากลุ่มพร้อมทั้งจัดทำเป็นประกาศของวิทยาลัย
5. ผู้สอน
– เนื่งหาจะใช้อะไร
– อบรมโปรแกรมเฉพาะ E-learning (รับ-ส่งงาน online)
6. การประเมินผล
– รายบุคคล และกลุ่มใหญ่
– วิธีการประเมิน อาจใช้เทคนิคการสังเกตเด็ก และใบประเมินที่สามารถประเมินนักศึกษาได้ครั้งละหลายคน
ดร.ทุติยรัตน์ รื่นเริง
ดร.ธัญญมล สุริยานิมิตรสุข

Previous Post Next Post

6 thoughts on “ถอดบทเรียนแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

  1. งานวิจัยเรื่อง Electrical brain stimulation enhances creativity ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Cerebral Cortex ในปี 2016 โดย ศาสตราจารย์อดัม กรีน และ ดร.ปีเตอร์ เทอร์เคลทอบ แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ และทีมวิจัย ได้ทำการศึกษาในเรื่องการกระตุ้นไฟฟ้าด้วยเทคนิคกระตุ้นกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน หรือ tDCS ที่สมองส่วน frontopolar cortex ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้ซึมซับกระแสไฟฟ้าไปที่สมองสามารถคิดได้อย่างสร้างสรรค์มากขึ้น อย่างไรก็ตามการวิจัยนี้ยังไม่ได้รับการยืนยันถึงผลกระทบกับการทำงานของสมองส่วนอื่นๆ หากการศึกษาได้รับการยืนยันถึงความปลอดภัย จะเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมการวิจัยทางสมองที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับประชากรไทยในยุค Thailand ต่อไป

  2. การเรียน e-learning น่าจะตรงจริตกับนักศึกษา เพราะสามารถจัดการเวลาเรียนได้ตามอัธยาศัย มีสื่อ เนื้อหา แบบฝึกหัด ที่ผู้สอนจัดไว้ให้ สามารถเข้าไปศึกษาเวลาไหน ที่ใดก้ได้ แต่การวัดและประเมินผลผู้เรียนไม่ควรให้น้ำหนักมากเกินไป ยิ่งถ้าผู้เรียนมีจำนวนมาก การวัดอาจจะไม่ตรงตามความเป็นจริง

  3. ประเด็นที่น่าจะพัฒนาต่อยอดจากการสอนในชั้นเรียน …..
    การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบต่างๆ การเรียนโดยอิงจากสถานการณ์จริง เป็นสิ่งที่มีการพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งหนึ่งที่มักพบและเป็นประเด็นในการสอนและนิเทศนักศึกษาบนหอผู้ป่วย คือ การเชื่อมโยงความรู้ ประสบการณ์จากสิ่งที่เรียนมาแล้วไปปรับใช้ในสถานการณ์จริง ได้อย่างไร????
    คำถามที่นักศึกษามักจะถูกถามบ่อยๆๆ คือ เรียนมาแล้วไม่ใช่เหรอ ใครสอน และอื่นๆๆ อีก……
    บุคคลที่สำคัญในการเป็นผู้กระตุ้น ผู้สนับสนุน และเป็น Coaching นักศึกษาที่ดีที่สุด คือ อาจารย์
    บทบาทของอาจารย์….
    1. การเตรียมการสอน เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
    – องค์ความรู้ในเนื้อหา ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ กลวิธีในการสอนที่จะดึงศักยภาพผู้เรียนออกมาให้ได้มากที่สุด
    2. วิธีการสอนและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
    – บุคลิกภาพของผู้สอน กลวิธีในการถ่ายทอดและชี้นำการเชื่อมโยงในการเรียนรู้ จากความรู้ในห้องเรียนมาสุู่ความรู้นอกห้องเรียน
    3. การให้ข้อมูลย้อนกลับ
    – การปรับปรุงพัฒนาตนเองไปในสิ่งที่ดีขึ้นเป็นสิ่งที่นักศึกษาทุกคนต้องการ ดังนั้นการแนะประเด็นในการพัฒนา การสะท้อนให้ข้อมุลในสิ่งที่ควรปรับปรุงในเวลาที่สมควรจึงเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการสร้างกำลังใจในการเรียนรู้ เช่น การชื่นชม
    4. การประเมินผลการสอน
    – การรับฟังข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อนำมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
    การสร้างคนหนึ่งคนให้รู้ ทำเป็น แก้ไขได้ และอยุู่ในสังคมอย่างมีความสุข เป็นเรื่องยาก แต่เมื่อทำได้นอกจากความรู้สึกภาคภุูมิใจแล้ว ประชาชนและสังคมของเรายังมีคนคุณภาพเพิ่มขึ้น

  4. การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 นั้น คำถามคือ ทำอย่างไรให้ผู้เรียนเกิดความสุข สนุกและไม่เครียด ดังนั้น จึงเป็นโจทย์ที่สำคัญของอาจารย์ในการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 โดยเน้นหลักการของ EREC IF Model เพื่อส่งเสริมทักษะ 3R7C ดังนั้นผู้สอนจึงควรมีการเตรียมความพร้อมและวางแผนที่ดีเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

  5. การเรียนการสอนในศตวรรษที่21 เป็นจุดที่ท้าทายความสามารถของผู้สอนที่จะทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนมีความหลากหลายครอบคลุมตามทักษะต่างๆ โดยมุ่งเน้นกระบวนการ. หากแต่จะทำอย่างไรให้เด็กไทยที่มีวัฒนธรรมไม่เหมือนต่างชาติเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ผู้สอนต้องมีกลยุทธ์ที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  6. ขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งของการเรียนการสอน SBL คือ Debriefing
    Debriefing คือ การเติมเต็มความรู้ในส่วนที่ผู้เรียนขาดไป วิเคราะห์ในสิ่งที่ได้ลงมือปฏิบัติเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติ

    Debriefing criteria
    1. Facilitated by a person ผู้เกื้อหนุนการเรียนรู้
    2. มีการเตรียมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยการรักษาความลับ ทำให้เกิดความไว้วางใจให้กับ
    ผู้เรียน และเปิดใจให้การเรียนรู้

    เป้าหมายของ debriefing มีดังนี้
    1. พัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
    2. เข้าใจในกรอบแนวคิดในการดูแลผู้ป่วย

    ตัวอย่างแนวคิดของ debriefing ได้แก่
    1. Engage การมีส่วนร่วม
    2. Explore การสืบค้น
    3. Explain การอธิบาย
    4. Elaborate อธิบายรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง
    5. Evaluate การประเมินผล
    6. Extended การขยายความ
    สิ่งที่สำคัญของการ debrief คือ การสรุป และการสะท้อนการเรียนรู้จากสถานการณ์เสมือนจริง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *