การนอนหลับอย่างมีคุณภาพ

การนอนหลับอย่างมีคุณภาพ

การนอนหลับจัดได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตเราเป็นอย่างมาก มีการศึกษาว่าการนอนไม่พอจะมีอันตรายการประสานระหว่างมือและตาจะเหมือนกับผู้ที่ได้รับสารพิษ ผู้ที่นอนไม่พอหากดื่มสุราจะทำให้ความสามารถลดลงอ่อนเพลียมาก การดื่มกาแฟก็ไม่สามารถทำให้หายง่วง มีการทดลองในหนูพบว่าหากนอนไม่พอหนูจะมีอายุสั้น ภูมิคุ้มกันต่ำลง สำหรับคนหากนอนไม่พอจะมีอาการง่วงและไม่มีสมาธิ ความจำไม่ดี ความสามารถในการคำนวณด้อยลง หากยังนอนไม่พอจะมีอาการภาพหลอน อารมณ์จะแกว่ง การนอนไม่พอเป็นสาเหตุของอุบัติต่างๆ เชื่อว่าเซลล์สมองหากไม่ได้นอนจะขาดพลังงานและมีของเสียคั่ง นอกจากนั้นการนอนหลับสนิทจะทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต (growth hormone) การนอนหลับเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่ทำให้มีการถ่ายโอนความจำระยะสั้น ( short term memory) เข้าสู่ความจำระยะยาว ( long term memory) ดังนั้นผู้ที่จะสอบหรือต้องใช้สมองจดจำสิ่งต่างๆ ควรปล่อยให้สมองได้พักด้วยการนอนหลับ

กลไกการนอนหลับ

เมื่อความมืดมาเยือนเซลล์ที่จอภาพ (retina) จะส่งข้อมูลไปยังเซลล์ประสาทที่อยู่ใน hypothalamus ซึ่งจะเป็นที่สร้างสาร melatonin โดยมี tryptophan เป็นสารตั้งต้น ส่งผลให้อุณหภูมิกายลดลงและเกิดอาการง่วง การนอนของคนปกติแบ่งออกได้ดังนี้

  1. การนอนช่วง  Non-rapid eye movement {non- (REM) sleep} การนอนในช่วงนี้มี

ความสำคัญมากเพราะมีส่วนสำคัญในการทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาการและมีการหลั่งของฮอร์โมนที่เร่งการเติบโต growth hormone การนอนช่วงนี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะได้แก่โดยการหลับจะเริ่มจากระยะที่1ไปจน REMและกลับมาระยะ 1 ใหม่

  • Stage 1 (light sleep) ระยะนี้ยังหลับไม่สนิทครึ่งหลับครึ่งตื่น ปลุกง่าย ช่วงนี้อาจจะมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อที่เรียกว่า hypnic myoclonia มักจะตามหลังอาการเหมือนตกที่สูง ระยะนี้ตาจะเคลื่อนไหวช้า
  • Stage 2 (so-called true sleep) ระยะนี้ตาจะหยุดเคลื่อนไหวคลื่นไฟฟ้าสมองเป็นแบบ rapid waves เรียก sleep spindles
  • Stage 3 คลื่นไฟฟ้าสมองจะมีลักษณะ delta waves และ Stage 4ระยะนี้เป็นระยะที่หลับสนิทที่สุด คลื่นไฟฟ้าสมองเป็นแบบ delta waves ทั้งหมด ระยะ3-4 จะปลุกตื่นยากที่สุดตาจะไม่เคลื่อนไหวร่างกายจะไม่เคลื่อนไหว เมื่อปลุกตื่นจะมีอาการงัวเงีย

2  การนอนช่วง Rapid eye movement (REM) sleep จะเกิดภายใน 90 นาที หลังจากนอนช่วงนี้เมื่อทดสอบคลื่นสมองจะเหมือนคนตื่น ผู้ป่วยจะหายใจเร็ว ชีพขจรเร็ว กล้ามเนื้อไม่ขยับ อวัยวะเพศแข็งตัว เมื่อคนตื่นช่วงนี้จะจำความฝันได้

เราจะใช้เวลานอนร้อยละ 50ใน Stage 2 ร้อยละ 20 ในระยะ REM ร้อยละ30 ในระยะอื่นๆ การนอนหลับครบหนึ่งรอบใช้เวลา 90-110นาที คนปกติต้องการนอนวันละ 8 ชั่วโมงโดยหลับตั้งค่ำจนตื่นในตอนเช้า คนสูงอายุการหลับจะเปลี่ยนไปโดยหลับกลางวันเพิ่มและตื่นกลางคืน จำนวนชั่วโมงในการนอนหลับแต่ละคนจะไม่เหมือนกันบางคนนอนแค่วันละ 5-6 ชั่วโมงโดยที่ไม่มีอาการง่วงนอน ความต้องการการนอนไม่เท่ากันใน

แต่ละคนขึ้นกับอายุ ทารกต้องการนอนวันละ 16 ชั่วโมง วัยรุ่นต้องการวันละ 9 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ต้องการวันละ 7-8 ชั่วโมง แต่คนบางคนก็อาจจะต้องการนอนน้อยเหลือเพียงวันละ 5 ชั่วโมง หากนอนไม่พอร่างกายต้องการการนอนเพิ่มในวันรุ่งขึ้นเราอาจจะทราบว่านอนไม่พอโดยดูจาก

  • เวลาทำงานมีอาการง่วงหรือซึมตลอดวัน
  • อารมณ์แกว่งโกรธง่ายโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอกับครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงาน
  • หลับภายใน 5 นาทีหลังจากนอน
  • บางคนอาจจะหลับขณะตื่นโดยที่ไม่รู้ตัว

การนอนหลับอย่างพอเพียงทั้งระยะเวลา และคุณภาพของการนอนหลับจะเป็นปัจจัยในการส่งเสริมสุขภาพที่ดีเหมือนกับการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และการออกกำลังกาย ดังนั้นอย่ามองข้ามเรื่องใกล้ตัวที่สำคัญ เพราะถ้าเราใช้สมองของเราโดยไม่ให้พักอย่างเพียงพอและมีคุณภาพ เซลล์สมองก็อาจเสื่อมก่อนวัยอันควรได้

Previous Post Next Post

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *