มารู้จักสหกรณ์ออมทรัพย์

มารู้จักสหกรณ์ออมทรัพย์
สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นสถาบันการเงินแบบหนึ่งที่มีสมาชิกเป็นบุคคลซึ่งมีอาชีพอย่างเดียวกัน วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักการออมทรัพย์และให้กู้ยืมเมื่อเกิดความจาเป็นหรือเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์งอกเงยและได้รับการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ สามารถกู้ยืมเงินได้เมื่อเกิดความจาเป็นตามหลักการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันบทบาทหน้าที่ของสมาชิกสหกรณ์
1. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์ ในเรื่องกฎระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายสหกรณ์ และอื่นๆ
2. สมาชิกต้องเป็นผู้ภักดีกับสหกรณ์ ใช้บริการสินเชื่อจากสหกรณ์ ไม่ก่อหนี้กับภายนอก ชาระหนี้ตรงตามสัญญาที่ให้ไว้กับสหกรณ์
3. ติดตามประสานงานในการควบคุมการดาเนินงานของสหกรณ์อย่างใกล้ชิด
4. เลือกตั้งคณะกรรมการหรือถอดถอน และเลือกตั้งผู้ตรวจสอบกิจการ
5. พิจารณาอนุมัติงบดุลและรายงานประจาปี จัดสรรกาไรสุทธิประจาปี
6. พิจารณาเพิ่มเติมข้อบังคับสหกรณ์ กาหนดนโยบายของสหกรณ์ รวมถึงพิจารณารายงานของผู้ตรวจสอบกิจการ
7. พิจารณาลงมติให้สหกรณ์สมัครเข้าเป็นสมาชิกของชุมชนสหกรณ์ หรือเข้าร่วมกับสหกรณ์อื่นในการจัดตั้งชุมชนสหกรณ์
8. พิจารณาและปฏิบัติตามคาสั่งหรือคาแนะนาของนายทะเบียนสหกรณ์
สมาชิกสหกรณ์กับการคุ้มครองเงินฝาก
1. สมาชิกจะนาเงินมาสู่สหกรณ์มากขึ้นในรูปเงินฝากและการถือหุ้นเพราะมีความอุ่นใจมากกว่าสถาบันการเงินอื่นและมีผลตอบแทนที่ดีกว่า
2. สมาชิกอาจเรียกร้องหรือเพิ่มเงื่อนไขทางการเงินเป็นเพิ่มเงินกู้ เพิ่มประเภทการรับฝากเงิน ยอมรับการฝากเงินในรูปของสมาชิกสมทบ ขยายวงเงินการซื้อหุ้นเพิ่ม
3. เพื่อให้สหกรณ์สามารถรองรับเงินของพวกตนได้กว้างขวาง และมีปริมาณมากขึ้น สมาชิกอาจกดดันให้สหกรณ์ขยายขอบเขตการลงทุนหาผลประโยชน์ในทิศทางที่ผิดแผกไปจากครรลองเดิมจนก่อให้เกิดผลเสียในระยะยาวกับสหกรณ์โดยเฉพาะในการที่สหกรณ์ไปประกอบธุรกิจที่ขัดหรือไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ หรือเจตนารมณ์ดั้งเดิมของสหกรณ์ที่ได้จดทะเบียนไว้
4. สมาชิกที่มีเงินฝากในสถาบันการเงินมากกว่า 1,000,000 บาท จะต้องกระจายเงินฝากไปยังสหกรณ์อื่น และจะต้องหาทางที่จะให้มีการลงทุนในทิศทางที่มีความเสี่ยงต่า เช่น การใช้กองทุนรวม หรือการซื้อพันธบัตร หุ้นกู้ที่มีการจัดอันดับน่าเชื่อถือสูงหรือการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
5. กองทุนสารองเลี้ยงชีพประเภท LTF หรือ RMF เป็นจุดลงทุนหรือการจ่ายเงินที่สมาชิกควรให้ความสนใจเป็นอย่างมากเพราะให้ผลตอบแทนและผลประโยชน์ที่ดีเพียงแต่ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนกว่ากองทุนนั้นๆ มีนโยบายเงินไปลงทุนอย่างไร ซึ่งดูได้จากการพิจารณาในหนังสือชี้ชวน
6. การลงทุนในกองทุนที่มีการค้าประกันเงินต้น ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สมาชิกสหกรณ์สามารถจะนาเงินไปลงทุนได้โดยมีความปลอดภัยสูงแม้จะได้รับผลตอบแทนกลับมาไม่ท้าทายนักก็ตาม
7. สาหรับผู้มีเงินออมสูงหากต้องย้ายเงินจากสถาบันการเงินมาสู่สหกรณ์ก็ควรจะแบ่งบางส่วนไปซื้อสลากออมสิน หรือ ธกส. ไว้ก็ได้เพราะจะเป็นการรักษาเงินก้อนให้คงอยู่และได้ดอกผลเล็กน้อย แต่มีทางจะได้รับรางวัลตอบแทนบ้างพอชดเชยได้กับการเสียโอกาสในการลงทุนทางอื่นที่มีความเสี่ยงสูงกว่า
8. หากสมาชิกสหกรณ์จะนาเงินมาอยู่กับสหกรณ์ควรจะแยกส่วนฝากในรูปออมทรัพย์พิเศษและซื้อหุ้นในอัตราส่วน 70:30
9. ปัจจุบันมีบริษัทประกันชีวิตหลายแห่งมีเงินฝากแบบคุ้มครองชีวิตแถมเป็นเงินออมด้วย การออมทรัพย์ชนิดนี้น่าสนใจและควรหาทางแบ่งปันเงินไปซื้อประกันชีวิตชนิดนี้ โดยเฉพาะสมาชิกที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
ฉะนั้นสมาชิกสหกรณ์ควรทาหน้าที่การเป็นสมาชิกที่ดี รับผิดชอบในฐานะสมาชิกอย่างสมบูรณ์ เพื่อรักษาความมั่นคงของสหกรณ์ไว้ สาหรับผู้ที่มีเงินออมสูง ต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบริหารเงินให้เกิดประโยชน์รวมถึงการพิจารณาความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

Next Post

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *