เท้าแบน (Flat Foot) ในเด็ก

เท้าแบน (Flat Foot) ในเด็ก

วรพนิต ศุกระแพทย์ 

ปัญหาของเท้าในเด็กที่พบบ่อยปัญหาหนึ่ง คือเท้าแบน  “เท้าแบนในเด็ก” คือเท้าที่ไม่มีอุ้งเท้า (Arch) ซึ่งเท้าปกติจะมีรอยเว้าไปตามรูปเท้าไม่ได้เต็มทั้งฝ่าเท้า ส่วนเท้าแบนคือเท้าจะไม่มีรอยเว้า จะมีลักษณะแบนติดพื้นไปตลอด  ภาวะเท้าแบนเกิดขึ้นได้เมื่อเป็นเด็กเล็ก เนื่องจากฝ่าเท้าของเด็กมีไขมันและเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้มองเห็นอุ้งเท้าตรงฝ่าเท้าได้ไม่ชัด แต่เมื่อโตขึ้นช่องโค้งก็จะค่อย ๆ ปรากฏขึ้นมา บางคนอาจได้รับการถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวมาทางพันธุกรรม นอกจากนี้ ภาวะเท้าแบนอาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ

  1. พัฒนาการของอุ้งเท้า
    การเจริญเติบโตของโครงสร้างเท้าส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วง 7 – 8 ขวบปีแรก การเดินจะไม่มีการถ่ายน้ำหนักจากส้นเท้าไปสู่ปลายเท้าเหมือนในผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นกลไกตามธรรมชาติที่ช่วยเพิ่มความมั่นคงในการยืนและเดิน โครงสร้างของเท้าและอุ้งเท้าจะมีลักษณะเหมือนผู้ใหญ่เมื่ออายุประมาณ 7 – 8 ปี ส่วนการเดินในลักษณะถ่ายน้ำหนักจากส้นเท้าไปสู่ปลายเท้าจะเริ่มเมื่ออายุ 3 – 4 ปี

 

ภาวะเท้าแบนในเด็กแต่กำเนิด ภาวะนี้จะปรากฏลักษณะเท้าแบน 2 แบบ ได้แก่ เท้าแบนแบบนิ่ม และเท้าแบนแบบแข็ง ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

  1. เท้าแบนแบบนิ่ม (Flexible Flat Foot) เท้าแบนแบบนิ่มหมายถึง เท้าแบนที่ยังคงมีส่วนโค้ง

เว้าด้านในของเท้าเป็นปกติเมื่อไม่ได้ลงน้ำหนัก แต่เมื่อยืนลงน้ำหนัก ส่วนโค้งเว้าด้านในนี้จะลดลงหรือ หายไปเป็นเท้าแบนที่พบได้บ่อยที่สุด พบเท้าแบนแบบ นิ่มในประชากรทั่วไปประมาณ 20% ส่วนใหญ่จะแบน เล็กน้อยและไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ ชัดเจน ประมาณ หนึ่งในสี่ของเท้าแบนแบบนิ่มที่แบนมาก และสัมพันธ์ กับเอ็นร้อยหวายตึง อาจพบว่ามีอาการเจ็บปวด บริเวณด้านในของ เท้า ข้อเท้า หรือเอ็นร้อยหวายได้เมื่อยืนเดินมากๆ บางรายมีปัญหารองเท้าสึกมากด้านในเนื่องจากการกระจาย น้ำหนักของฝ่าเท้าในเท้าแบนที่จะเน้นไปที่ด้านในของ แผ่นฝ่าเท้ามากกว่า ส่วนใหญ่มักแสดงอาการตอน เด็กโต วัยรุ่น หรือเมื่อเป็นผู้ใหญ่ จากน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เท้าต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อการ กระจายน้ำหนักของเท้าไม่ปกติจะทำให้เส้นเอ็นและ กล้ามเนื้อที่พยุงและควบคุมเท้าเกิดการอักเสบได้ง่าย สาเหตุ ยังไม่เป็นที่สรุปโดยชัดเจน แต่พบความ สัมพันธ์ทางพันธุกรรม หมายถึง โอกาสที่จะเกิดขึ้นมี มากขึ้นเมื่อมีพ่อแม่ญาติที่น้องเป็นเท้าแบน และไม่พบ ว่าการใส่รองเท้าหรือไม่ใส่รองเท้าในวัยเด็กจะมีผลต่อ การเกิดเท้าแบน กลับมีรายงานถึงการพบเท้าแบนมาก ขึ้นในเด็กที่ใส่รองเท้าตั้งแต่ในช่วงวัยหัดเดินมากกว่า กลุ่มคนที่ไม่ใส่

  1. เท้าแบนแบบแข็ง (Rigid Flat Foot)พบได้น้อยกว่ามาก ลักษณะส่วนโค้งด้านในของ เท้าจะ

โค้งนูนออกมาตลอดเวลาไม่ว่าจะลงน้ำหนักหรือ ไม่ลงน้ำหนัก เท้าจะแข็งผิดรูปอย่างมาก  เท้าแบนแบบแข็ง

มีหลายระดับความรุนแรง  มักมีอาการเจ็บปวดเมื่อยืนเดินมาก มีปัญหาในการใส่รองเท้า และรูปร่างเท้าที่ดูผิดปกติมากเท้าแบนลักษณะนี้พบได้น้อย โดยตรงอุ้งเท้าจะโค้งนูนออก เท้าผิดรูป แข็ง และเท้ามีลักษณะหมุนจากข้างนอกเข้าด้านในเสมอ (Pronation) ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวดหากต้องยืนหรือเดินมากเกินไป รวมทั้งมีปัญหาเกี่ยวกับการสวมรองเท้า

 

ปัญหาเท้าแบนในเด็ก
ปัญหาเท้าแบนในเด็ก ส่วนใหญ่เป็นภาวะเท้าแบนชนิดไม่ติดแข็งที่คงอยู่ต่อเนื่องมาตั้งแต่วัยเด็กเล็ก  อุ้งเท้าไม่สูงขึ้นแม้กระดูกจะมีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้วก็ตาม และมักจะพบทั้งสองข้าง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรม เด็กมักรู้สึกว่าเท้าหรือขาอ่อนล้าง่าย ร่วมกับปวดบริเวณอุ้งเท้า ส้นเท้าและเท้าด้านนอก  โดยอาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีการลงน้ำหนัก ขณะยืนลงน้ำหนักจะพบส้นเท้าบิดออกมากกว่าปกติ ส่วนใหญ่มักจะมีกล้ามเนื้อน่องและเอ็นร้อยหวายตึงร่วมด้วย หากมีส้นเท้าบิดมากๆเป็นเวลานาน อาจเป็นเหตุทำให้ข้อเสื่อมและเคลื่อนไหวได้น้อยลง เท้าแบนชนิดนี้ไม่ถือว่าเป็นโรค ดังนั้นหากไม่มีอาการ ไม่จำเป็นต้องทำการรักษาใดๆ เพียงติดตามความเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ

การรักษา

ส่วนใหญ่ เท้าแบนในเด็ก เป็นพัฒนาการของเด็ก ไม่ใช่โรคร้ายแรงหรือความผิดปกติที่น่าวิตกกังวลมากนัก คือเด็กส่วนใหญ่ก็จะมีอาการเท้าแบนเป็นปกติอยู่แล้ว เมื่อโตขึ้นเด็กก็จะมีพัฒนาการไปตามวัย ร่างกายก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ  เท้าที่เคยแบนราบในตอนเด็กก็จะค่อยๆปรับเว้าโค้งรับกับเท้าไปเองตามพัฒนาการ แต่จะมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน เพราะบางราย พ่อแม่อาจจะมีลักษณะเท้าแบนเล็กน้อยอยู่แล้ว ลูกก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามพ่อแม่

ถ้าเป็นเท้าแบนแบบยืดหยุ่น (Flexible Flat Feet) จะมุ่งเน้นการป้องกันไม่ให้มีการผิดรูปเกิดขึ้น ควบคุมน้ำหนัก ปรับกิจกรรม  ใช้อุปกรณ์เสริมในรองเท้าและปรับรองเท้า  รองเท้าที่เหมาะสำหรับผู้ที่เท้าแบน ควรเป็นรองเท้าชนิดหุ้มส้น เช่น รองเท้าคัทชูส์หรือรองเท้ากีฬา และควรมีความกว้างส่วนหน้าเท้าพอสมควร ควรหลีกเลี่ยงการสวมใส่รองเท้าแตะ หรือรองเท้าชนิดที่มีสายรัดส้นเท้า นอกจากนี้พื้นรองเท้าภายในควรจะ

มีเนินช่วยประคองบริเวณอุ้งเท้าอีกด้วย การสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสมร่วมกับการใช้อุปกรณ์ เสริมภายในรองเท้า จะช่วยให้ผู้ที่เท้าแบนสามารถใช้เท้าทำงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  ส่วนการผ่าตัดจะพิจารณาเมื่อการรักษาดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ผล
กรณีเท้าแบนแบบแข็ง (Rigid Flat Feet) คือเป็นโครงสร้างที่ผิดปกติ  จำเป็นต้องรักษาและส่วนมากจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข

 

Previous Post Next Post

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *